Blue Ladybug

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ปฐมวัย



ชื่อเรื่อง  การค้นควาแบบอิสระการจัดการเรียนการสอนที่ผูเรียนมีบทบาทหลักเพื่อสรางความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย

ผูเขียน นางประกายดาว   ใจคําปัน

ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑติ (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม เมษายน 2549

วัตถุประสงค   เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ผูเรียนมีบทบาทหลักเพื่อสรางความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย

กลุมเปาหมายที่ศึกษา   นักเรียนในระดับชั้นอนบาลปที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านทาขาม อําเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม ภาคเรียนท ี่ 2 ปการศึกษา 2548 จํานวน 25 คน โดยใช้แผนการจัดประสบการณสําหรับ เด็กปฐมวัยจำนวน 8 หน่วยการเรียนรู้ 40 แผนการจัดประสบการณในแตละหน่วยการเรียนรู้

เวลาในการจัดประสบการณ์ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน รวมทั้งสิ้น 40 วัน ใช้เวลา 20 - 30 นาที

เครื่องมือท ี่ใช   แบบทดสอบความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัย จำนวน  5 ฉบับ การจัดประเภทหรือการจัดหมวดหมู การจัดลําดับ การเปรียบเทียบ จํานวนและการนับจํานวน เวลา

สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล    ค่าเฉลี่ยและสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย    หลังจากที่จัดการเรียนรู้ผู้เรียนมีบทบาทหลักและทํากิจกรรมหรือแบบฝกหัดที่สอดคลองกับแผนการจัดประสบการณทั้ง 8 กิจกรรม นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑดีรวมทั้งการทำแบบทดสอบความเข้าใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยเมื่อเปรียบเทียบแลวพบวานักเรียนมีคะแนนในเรื่องจํานวนและการนับจํานวนอยูในระดับดีสวนความเขาใจเชิงมโนทัศนในเรื่องการจัดประเภทหรือการจัดหมวดหมู การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ และ เรื่อองเวลาอยูในระดับดี

สรุปผลการวิจัย
- คะแนนค่าเฉลี่ย 2.80 อยู่ในเกณฑ์ดี  จากการใช้กิจกรรมและแบบฝึกหัดตามแผนการจัดประสบการณ์ครั้งที่ 1-8
- ค่าเฉลี่ยจากการใช้แบบทดสอบความเขาใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตร์ คะแนนค่าเฉลี่ยเรื่องการนับจำนวนมีค่ามากที่สุด 3.00 อยู่ในระดับดี เรื่องการเปรียบเทียบ 2.88 อยู่ในระดับดี เรื่องการจัดประเภทหรือการจัดหมวดหมู่ 2.84 อยู่ในระดับดี เรื่องการจัดลำดับ  2.80 อยู่ในระดับดี  เรื่องเวลา 2.76 อยู่ในระดับดี
ความเข้าใจเชิงมโนทัศนทางคณิตศาสตร์คะแนนเฉลี่ย  2.86 อยู่ในระดับดี



วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559


สรุปสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





การสอนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์จากวัสดุธรรมชาติ 
(Teaching Mathematics Basic Skills from Natural Materials)
                                     
   

การส่งเสริมทักษะการนับจากการพิมพ์ภาพจากใบไม้ 
โดยพาเด็กไปสำรวจบริเวณโรงเรียน
ว่ามีต้นไม้อะไรบ้าง จากนั้นให้เด็กเก็บใบไม้จำนวน 10 ใบเข้าห้องเรียน
 แล้วให้เด็กนับจำนวนใบไม้ทีละใบพร้อมกันจนถึงสิบ 
จากนั้นครูสาธิตการพิมพ์ภาพด้วยใบไม้
 แล้วให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมและเก็บวัสดุอุปกรณ์
 ทำความสะอาดพื้นที่จัดกิจกรรม
การส่งเสริมทักษะการเปรียบเทียบจากกิจกรรมการร้อยต้นกก 
ให้เด็กออกมาเปรียบเทียบความยาว 
ความสูงและเรียงลำดับขนาดของต้นกก 
ก่อนที่จะให้เด็กหั่นต้นกกเป็นท่อนสั้นและยาวเพื่อนำมาร้อยสลับกัน
ส่งเสริมทักษะการจัดลำดับจากกิจกรรมการทำโมบายจากเปลือกหอย
โดยให้เด็กเรียงลำดับเปลือกหอยจากเล็กไปหาใหญ่และจากใหญ่ไปหาเล็ก 
แล้วให้เด็กประดิษฐ์เป็นโมบายตามความคิดและจินตนาการ
นอกจากนี้กิจกรรมเช่น 





















- การส่งเสริมทักษะการนับผลสับปะรด การนับใบมะพร้าว การนับดอกไม้ การนับเปลือกไข่ การนับก้านกล้วย 

- การส่งเสริมทักษะการเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบขนาดของเมล็ดข้าวเปลือกที่นำมาสร้างภาพปะติด การเปรียบเทียบฝักข้าวโพดที่นำเปลือกมาประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา การเปรียบเทียบขนาดของดินเหนียวที่นำมาปั้น การเปรียบเทียบขนาดของเปลือกหอยที่นำมาประดิษฐ์ เป็นต้น
 - การส่งเสริมทักษะการจัดลำดับ เช่น การเรียงลำดับความยาวของต้นกกที่นำมาร้อยหรือสาน การเรียงลำดับสีอ่อนแก่ของดอกไม้ที่นำมาร้อยพวงมาลัย การเรียงลำดับขนาดของผักตบชวาที่นำมาร้อย การเรียงลำดับขนาดของก้านกล้วยที่นำมาประดิษฐ์เป็นโมบาย
                                                            

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 2 


วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 

(เวลา 08.30-12.30)


เนื้อหาที่เรียน
-วันนี้อาจารย์สร้างปัญหาให้นักศึกษาแก้ไขโดยการให้นักศึกษาแจกกระดาษ 1 : 1 เพื่อความว่องไว มีนักศึกษาอยู่ 4 คน ที่ไม่ได้รับกระดาษ นั่นเรียกได้ก็คือกระดาษน้อยกว่าคน หรือ คนมากกว่ากระดาษ หลังจากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคนจนครบและหลังจากนั้นก็เรียนเรื่องการเขียน mild mapping  หัวข้อคือ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


ทักษะ/ระดมความคิด 
ได้คิดและแก้ปัญหาตามที่อาจารย์ได้ตั้งประเด็นขึ้นมาและได้คิดตอบคำถามจากอาจารย์เรื่องการจัดประสบการณ์ต้องดูจากอะไรในตัวเด็ก --> พัฒนาการ 

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนมากันเกือบครบทำให้ห้อลเรียนดูคึกคัก

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์สอนให้คิดแก้ปัญหาเป็นหลักและให้นักศึกษาใช้ความรู้ที่มีอยูาแต่เดิมในการตอบคำถาม

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้ก็ตั้งใจทำงานและตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูดแล้วก็คิดตาม จดบันทึกสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ๆที่อาจาย์พูดถึงส่งในสมุดบันทึกของหนู


สรุปบทความ

การสอนจำนวนตัวเลขสำหรับเด็กปฐมวัย 

โดยคุณครูอนงค์ ลิ้มสกุล




ในการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กอนุบาลต้องใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่นกับเด็กเช่นเล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ แสดงท่าทางประกอบคำคล้องจองตัวอย่างเช่นการสอนจำนวนตัวเลขต้องให้เด็กจำตัวเลขได้ ว่าตัวเลขอะไรมีรูปร่างแบบไหนเช่น
  • การสอนให้เด็กท่องคำคล้องจองและประกอบท่าทาง ตัวอย่างเช่น

                   เลขหนึ่งเหมือนเสาธง        
                   เลขสองงอเหมือนเบ็ดหรือว่าเป็ดลอยน้ำ
  • การเล่นจำนวนตัวเลขเป็นบัตรคำแล้วให้เด็กทายว่าบัตรที่ครูจะเปิดเป็นเลขอะไร
  • การสอนให้เด็กรู้ค่าของจำนวนตัวเลขว่าตัวเลขมีค่าเท่าไร ตัวอย่างเช่น เลข 2 ครูก็ชูสมุดขึ้นมาหนึ่งเล่น ถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม  ชูเพิ่มอีก 1 เล่มถามเด็กว่ามีสมุดกี่เล่มจากนั้นให้เด็กนับ1, 2 แล้วถามว่าครูมีสมุดกี่เล่ม
  • การสอนให้เด็กนับเลขประกอบกับสื่อของจริงเช่นอุปกรณ์การสอนต่างๆในห้องหรืออาจให้นับของเล่นของใช้ของเด็กภายในห้องเรียน การนับ 1-10  อาจสอนโดยให้เด็กนับเพิ่มนับลด
  • การเล่นบทบาทสมมุติให้เด็กได้เล่นกับเพื่อนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ครูมีดินสอจำนวนหนึ่งไม่ทราบว่ากี่แท่ง เด็ก ๆ ช่วยคุณครูนับหน่อยซิ เมื่อเด็กนับ 1 ครูก็ชูดินสอขึ้นมา 1 แท่ง ทำอย่างนี้จนกว่าจะนับดินสอหมด  จากนั้นครูก็นำดินสอทั้งหมดชูขึ้นถามเด็ก ๆ ว่ามีดินสอทั้งหมดกี่แท่งค่ะ ครูแจกดินสอทั้งหมดกับเด็กคนหนึ่งแล้วให้เด็กลองนับเลียนแบบครู จากนั้นให้เด็กแจกดินสอให้เพื่อน ๆ แล้วนับจำนวนดินสอที่เหลือ จนกว่าจะหมด พร้อมกับพูดเป็นประโยคให้เด็กสร้างประโยคที่เด็กกำลังแสดงอยู่ตามจริง เช่น "แก้มมีดินสอ 7 แท่ง แก้มแบ่งให้แอ๋ว 1 แท่งแก้มเหลือดินสอกี่แท่ง คำตอบคือ 6 แท่ง"

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน 

ครั้งที่ 1

วันศุกร์  ที่ มกราคม พ.ศ. 2559


  1. เนื้อหาที่เรียนในวันนี้
  1. อาจารย์แจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษาทุกคนเขียนบ่งบอกลักษณะเด่นของตนเองที่ไม่ต้องรอเวลาการแสดงออกและไม่ต้องเขียนชื่อ หลังจากนั้นอาจารย์จะอ่านลักษณะเด่นและสังเกตว่าลักษณะเด่นนั้นเป็นของนักศึกษาคนไหน เพื่อการเป็นครูปฐมวัยจะต้องจำลักษณะเด่นของเด็กได้ทุกคนและใช้คำที่เหมาะสมในการเรียกเช่นตัวเตี้ยวเปลี่ยนคำเป็นสูงพอประมาณ
  2. ในรายวิชานี้จะเกิดกระบวนการทักษะการคิดและแก้ปัญหาโดยอาจารย์จะตั้งประเด็นปัญหาขึ้นมาให้เช่นอาจารย์ยกตัวอย่างในการแบ่งกระดาษ 1 แผ่นให้เป็น 3 ส่วน สามารถแบ่งกลุ่ม3 คนได้โดยวิธีไหนบ้างเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนในรายวิชานี้ต่อไป
  3. อาจารย์อธิบายการสร้าง Blogger ในรายวิชานี้และบอกรายละเอียดอาจารย์มอบหมายงานนำเสนอและอธิบายงานที่ได้รับมอบหมาย
ทักษะ/การระดมความคิด
       ได้เกิดกระบวนการคิดและตอบสนองอย่างรวดเร็วในการคิดเลขและตอบปัญหาที่อาจารย์ได้ถามมา

ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน

          บรรยากาศในการเรียนทำให้ดิฉันง่วงนอนแต่ก็สนใจการเรียนอยู่ถึงวันนี้เพื่อนจะมากันน้อยแต่นักศึกษาก็ตั้งใจเรียนกันทุกคน

การจัดการเรียนการสอน

          อาจารย์ได้ตั้งปัญหาและให้นักศึกษาร่วมกันแก้ไขปัญหา

วิเคราะห์ตนเอง
         วันนี้เป็นการพบอาจารย์เป็นครั้งแรกอาจจะยังไม่การแสดงออกอะไรมากมายแต่ก็ตั้งใจเรียน