Blue Ladybug

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เวลา 08.30 - 12.30 น.


เนื้อหาที่เรียน
การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา
รู้จักให้เด็กแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือคือไส้ ยาว กลาง และ สั้นตามลำดับ

โครงสร้างการจัดการเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา

วิเคาระห์โจทย์
v
v
v
ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
v
v
v
 ลงมือทำ
v
v
v
ผลงาน 
v
v
v
นำเสนอ





การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง
เช่นการเล่นบล็อค ให้เด็กบอกชิ้นส่วนที่มีความเหมือนคล้ายรูปทรง  การศึกษา
เกิดทักษะต่างๆ คือ
กิจกรรมสร้างรูปทรงทำให้เกิดกระบวนการสอนแบบ STEM 
S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
T (technology) = การนำเสนอ
E (engineering) = โครงส้ราง
M (mathematics) = จำนวนนับไม้ จำนวนมุม ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง

  • การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
-การจัดกิจกรรมให้เด็กประกอบชิ้นส่วนกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ
-การให้เด็กวาดภาพก่อนแล้วถามจำนวนหรือถามว่าในภาพที่วาดมีอะไรที่มี 5จำนวน

  • ครูต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์ 
  • การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะ

ประสบการณ์เดิม > สู่ประสบการณ์ใหม่ > สู่การปรับโครงสร้าง > การรับรู้ > เกิดการเรียนรู้ > เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะการลงมือทำ
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการวิเคราะห์


การประยุกต์ใช้  
  • การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เพื่อนกลุ่ม 103 มาเรียนด้วย ซึ่งทำให้ห้องอบอุ่นดี

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์เตรียมความพร้อมทั้งอุปกรณ์และการสอนการคิดมาอย่างดี

วิเคราะห์ตนเอง
สามารถเข้าใจและโต้ตอบกับอาจารย์ได้

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เรื่องรูปทรงโดยการให้เด็กลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การนำกระดาษต่อเป็นรูปทรง 2 แผ่น หรือ 3 แผ่น ให้เด็กได้คิดวางแผนในการสร้างรูปทรงต่างๆที่เหมือนกันแต่คนละทิศทางได้อีกหลายรูป หลังจากนั้นให้เด็กวาดลงกระดาษแล้วตัด ให้เด็กสังเกตว่ารูปทรงนั้นเป็นรูปทรงเดียวกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบให้เด็กสืบเสาะ เด็กได้ลงมือทำอย่างอิสระ(เด็กชอบ) และเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง



ควรคำนึงถึง

วิธีการ ----> ลงมือทำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากได้รับความรู้

-จะให้เด็กเรียนรู้อะไรต้องดูพัฒนาการของวัย

-วิธีการเรียนรู้ของเด็กต้องลงมือทำ การนั่งเรียนไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ของเด็ก

-จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก


 Project Approach





ต้องสอดแทรกทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้หลากหลาย เช่น

- การสอดแทรก ลำดับก่อนหลังหรือพื้นฐานของคณิตศาสตร์เบื้อต้น การเรียงลำดับ
- การอธิปายคือคณิตศาสตร์สาระที่ 5 เช่นแผนภูมิแสดงข้องมูลในรูปแบบอื่นๆ
ทักษะ / ระดมความคิด
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการแก้ปัญหา
-ทักษะเรื่องรูปทรง 


การประยุกต์ใช้ 
         การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ควรคำนึงถึงพัฒนาการตามวัย ว่าเด็กในวัยนั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับกิจวัตรหรือชีวิตประจำวันของเด็กโดยผ่านวิธีการที่ครูคิดขึ้นจากนั้นผ่านการลงมือทำโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
การประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
ค่อนข้างมีการรับรู้เพิ่มมากขึ้นจะมีเพื่อนบ้างคนที่เกิดการเรียนรู้โดยการโต้ตอบคำถามจากอาจารย์

การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์พูดให้วิเคราะห์ตลอดเวลาแต่ทำให้มีความรู้และสามารถนำไปใช้ได้จริง

วิเคราะห์ตนเอง
เข้าใจมากขึ้น เวลาตอบก็จะหยุดคิดก่อนตอบ







วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
ครั้งที่4

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559



เนื้อหาที่เรียน
  • การจัดประสบการณ์การเรียนรู้การทำปฎิทินวันเกิด
  • การจัดประเภทต้องรู้เกณฑ์ concept สังเขป มโนทัศน์
  • เด็กเกิดการเรียนรู้เพราะแสดงพฤติกรรมที่เข้าใจออกมา
  • การเรียนรู้นั้นเพื่อการเรียนรู้และอยู่รอด
  • เครื่องมือที่เด็กได้เรียนรู้คือประสาทสัมผัสทั้ง 5 การลงมือปฏิบัติคือวิธีการ

รับรู้ -------------> ยังไม่แสดงพฤติกรรม             เรียนรู้ --------------> แสดงพฤติกรรม




นำเสนอของเล่น





เพลง



เพลงจัปปู
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
หก เจ็ด แปด เก้าสิบ       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลงนกกระจิบ 
นั่นนกบินมาลิบลิบ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบตัว

เพลงนับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน    มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว      มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า          นับต่อมา หก เจ็ด แปดเก้าสิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีรอ    นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง บวก - ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ    ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ    ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ     หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ    ดูซิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลงแม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง     ไข่วันละฟองไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน     หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)

เพลงลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป     นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับ)


ทักษะ/การระดมความคิด
  • การคิดตอบคำถาม
  • คิดแก้ปัญหาจากของเล่นที่นำเสนอ

การประยุกต์ใช้ 
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเรื่องปฎิทินที่สอดคล้องในชีวิตประจำวันและสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆเข้าไปในปฏิทินได้ เช่นการนับวันที่ฝนตกในเดือนที่มีหน้าฝน

บรรยากาศในห้องเรียน
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

การจัดการเรียนการสอน
ชอบอาจารย์ที่เก่งในการคิดและหาทางออกหรือต่อยอดได้ตลอดเวลา

วิเคราะห์ตนเอง
เริ่มคิดและวิเคราะห์มากขึ้นในการเรียน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียน
(ชดเชย)
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559




อาจารย์ให้ออกไปติดชื่อที่กระดานในตารางคือใครตื่นนอน ก่อน 7:00 น. 7:00 น. หลัง 7:00 น.
เด็กจะได้เรียนรู้จากการ นับ บอกจำนวน และตัวเลขฮินดูอารบิก การจัดกิจกรรมควรจัดตามพัฒนาการ(ตัวบอกว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง) โดยให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากเครื่องมือของเด็กคือประสาทสัมผัสทั้ง 5  การจัดกิจกรรมควรสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

เนื้อหาที่เรียน

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานปฐมวัย

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
  • มาตรฐาน ค ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวน
-ใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิก - ไทย
-การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกแสดงจำนวน
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การเรียงลำดับ

การรวมและการแยก
  • ความหมายของการรวม
  • การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
  • ความหมายของการแยก
  • การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2 : การวัด
  • มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา
ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  • การเปรียบเทียบ / การวัด / การเรียงลำดับความยาว
  • การเปรียบเทียบ / การชั่ง / การเรียงลำดับน้ำหนัก
  • การเปรียบเทียบปริมาณ / การตวง

เงิน
  • ชนิดและค่าของเงิน เหรียญ และธนบัต

เวลา

  • ช่วงเวลาแต่ละวัน
  • ชื่อสัปดาห์

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
  • มาตร ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง(สูง-ต่ำ)
  • มาตร ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกเรขาคณิต และ เข้าใจการเปลียนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำรูปเรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
  • มาตร ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือ สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


สาระที่ 5 : วิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  • มาตรฐาน ค.ป. 4.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม  และนำเสนอ


สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

-การแก้ปัญหาการให้เหตุผลการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเนอข้อมูล และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น




ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้เรียนชดเชยเลยทำให้เรียนแค่ 1ชม. แต่ก็ยังตั้งใจกันเหมือนเดิม ช่วยกกันตอบและคิด


การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์และตอบคำถาม คิดตาม แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ตนเอง
วันนี้เข้าใจการเรียนมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559

(เวลา 08.30-12.30)

เนื้อหาที่เรียน

อาจารย์แจกแผ่นกระดาษเพื่อให้นักศึกษาเขียนชื่อลงไปแล้วออกไปติดหน้ากระดาษตามช่อง ช่องที่ 1 คือคนที่มาเรียน ช่องที่ 2 คือคนที่ไม่มาเรียน ส่วนช่องล่างเป็นช่องรวมชื่อของทุกคน อาจารย์สอนวิธีการสอนคณิตศาสตร์เด็กนั้นคือต้อง เชื่อมโยงกิจกรรมให้สอดคล้องกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมของเด็ก ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และมีส่วนร่วมกับกิจกรรม หลังจากนั้นเพื่อนก็ออกมานำเสนอบทความ สื่อการสอน และวิจัยทางคณิตศาสตร์ หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้าสู่เนื้อหาเด็กปฐมวัยเรียนคณิต 6 สาระด้วยกัน

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ •มีความคิดเชิงคณิต -จำนวนนับ 1-20 -เข้าใจหลักการนับ -รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิก-ไทย -รู้ค่าของจำนวน -เปรียบเทียบและเรียงลำดับ -การรวม,การแยกกลุ่ม

สาระที่ 2 การวัด •มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และ เวลา สาระที่ 3 เรขาคณิต •ความรู้พื้นฐานทางเรขาคณิต -ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง -รูปเรขาคณิตสามมิติ(รูปทรง)และรูปเรขาคณิตสองมิติ(รูปนูน) สาระที่ 4 พีชคณิต •มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป -เข้าใจรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สิ่งสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น •มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย(กับเรื่องที่เป็นประจำวัน เช่นวันนี้ใครกินไข่มาบ้าง แล้วมีจำนวนคนที่ไม่กินกี่คน จากนั้นวาดแผนภูมิ) สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิต -การเรียนรู้สัญลักษณ์

เพลงต่างๆ







ประเมิน

บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้จะดูเครื่งเครียดกันในช่วงแรกแต่พอถึงการร้องเพลงทุกคนดูสนุกสนานกันมากขึ้น


การจัดการเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ตลอดเวลาการเรียนการสอน

วิเคราะห์ตนเอง
ต้องตั้งใจฟังตลอดเวลาไม่งั้นจะผลาดจุดสำคัญๆไปตลอด